เก็บผักให้ได้นาน ซื้อมาเก็บไว้สำหรับทำอาหารได้ตลอดเดือน
ข้อปฏิบัติที่ควรทำ ก่อนการนำผักสดไปเก็บในตู้เย็น
ปัญหาใหญ่ที่เหล่าพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือคนชอบทำอาหารหลายคนต้องเจอ คือ การไม่รู้วิธีเก็บผักให้ได้นาน จนผักในตู้เย็นเหี่ยวเน่าได้ ซึ่งแน่นอนว่าการปล่อยให้ผักเน่า นอกจากจะเสียดายเงิน เสียดายเวลาในการออกไปซื้อใหม่ ยังมีอันตรายจากเชื้อโรคและเชื้อราบนผักอีกด้วย เพราะฉะนั้นก่อนการนำผักมาจัดเก็บ หลังจากออกไปจ่ายตลาดยังร้านขายส่งผัก ควรมีการศึกษาวิธีการเก็บผักให้ได้นาน เพื่อประหยัดเวลา และป้องกันการเน่าเสียของผัก ซึ่งข้อควรปฏิบัติที่ต้องทำ ก่อนการเก็บผักสดเข้าตู้เย็น มีดังนี้
- ศึกษาวิธีการแยกผักแต่ละประเภท ก่อนนำไปเก็บ
วิธีเก็บผักให้ได้นาน สิ่งแรกที่ควรรู้ คือ การคัดแยกผักแต่ละประเภทออกจากกัน แล้วแบ่งสัดส่วนการเก็บให้แยกออกจากกันชัดเจน เนื่องจากผักแต่ละชนิดมีสารอาหาร การเจริญเติบโต และการปล่อยก๊าซที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทของผักตามความเหมาะสม จึงเป็นวิธีถนอมผักให้อยู่นานมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแบ่งประเภทของผักได้หลัก ๆ 3 ประเภท
- ผักที่ง่ายต่อการเน่าเสีย - ผักประเภทนี้ เช่น ผักชี ผักกาด ผักบุ้ง เป็นผักที่มีการเหี่ยวง่าย สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นระยะเวลาจำกัด ควรมีการนำมาประกอบอาหารให้ไวที่สุดหลังจากซื้อม
- ผักที่สามารถเก็บไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง - ผักประเภทนี้ เช่น ผักคะน้า มะเขือเทศ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานกว่าผักประเภทแรก โดยอาจซื้อมาให้ปริมาณที่เยอะ แล้วทยอยนำไปประกอบอาหารได
- ผักที่สามารถเก็บไว้ได้นาน - ผักประเภทนี้ เช่น มัน ฟักทอง เผือก เป็นผักประเภทผักหัว มีลักษณะแห้งและแข็ง วิธีเก็บผักให้ได้นานสำหรับผักประเภทนี้ สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่แช่ไว้ในตู้เย็น หรือวางไว้ในที่อากาศถ่ายเท และเก็บให้ห่างจากความชื้น
- ผักที่ไม่จำเป็นต้องล้างทำความสะอาดก่อนเก็บ เนื่องจากจะทำให้ผักช้ำ และเน่าเสียได้เร็วจากการโดนน้ำ เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก มะเขือเทศ เป็นต้
- ผักที่จำเป็นต้องล้างทำความสะอาดก่อนเก็บ เช่น ผักชี ต้นหอม ผักกาดหอม ผักสลัด โดยสามารถนำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้งก่อนเก็บ
2. ศึกษาวิธีการล้างผักแต่ละประเภท
วิธีเก็บผักให้ได้นานอีกหนึ่งวิธี คือ การล้างผัก เชื่อว่าหลายคนมีความเชื่อว่า ก่อนการเก็บของสดเข้าตู้เย็น ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ หรืออาหารประเภทอื่น ๆ ต้องทำการล้างสะอาดก่อนเก็บ แต่ความเป็นจริงแล้ว วิธีการถนอมผักให้อยู่นาน ไม่จำเป็นต้องล้างผักทุกชนิด โดยสามารถแบ่งชนิดของผักที่ต้องล้างก่อนเก็บ และไม่ต้องล้างก่อนเก็บ ได้ดังนี้
ปัจจัยในการพิจารณาเลือกภาชนะ สำหรับเก็บผักในตู้เย็น
การเลือกภาชนะบรรจุผักสด สำหรับการนำไปเก็บในตู้เย็น เป็นอีกหนึ่งวิธีการเก็บผักให้ได้นาน เนื่องจากผักบางชนิดสามารถอยู่ได้นานเมื่อถูกเก็บมิดชิด ผักบางชนิดสามารถอยู่ได้นานในอากาศถ่ายเท ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันนี้ เราจึงควรศึกษาและให้ความสำคัญกับธรรมชาติของผัก และประเภทของภาชนะเก็บผัก ดังนี
พิจารณาชนิดของผัก - ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของผักแต่ชนิด
ผักใบเขียว - ผักใบเขียวเป็นผักประเภทที่ต้องการความชื้นสูง วิธีการเก็บผักให้อยู่ได้นาน ควรเลือกภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วเจาะรูระบายอากาศเล็กน้อย
ผักหัว - ผักหัวเป็นผักที่ต้องการอากาศ วิธีถนอมผักให้อยู่นาน ควรเลือกภาชนะที่มีลักษณะเป็นตะแกรง หรือมีรูระบายอากาศ เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากา
พิจารณารายละเอียดของภาชนะที่ต้องการนำมาบรรจุผัก
ขนาดของภาชนะ - ควรเลือกภาชนะที่มีขนาดพอดีกับปริมาณผักที่ต้องการนำมาจัดเก็บ วิธีเก็บผักให้อยู่ได้นาน คือ ไม่ควรเก็บผักจนอัดแน่นมากเกินไป เนื่องจากเป็นความเสี่ยงในการเกิดความชื้น และเกิดเชื้อราได
วัสดุที่ใช้ทำภาชนะ - ควรเลือกภาชนะใส่ผัก ที่ทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัย ทนทาน มีการรองรับมาตรฐาน สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย เช่น ภาชนะพลาสติก ราคาถูก น้ำหนักเบา, ภาชนะแก้ว ปลอดภัย ทนทาน แต่ง่ายต่อการเสียหาย, ภาชนะสเตนเลส ทนทาน ทำความสะอาดง่าย ควรระวังการเกิดสนิ
คุณสมบัติของภาชนะ - ภาชนะแต่ละชนิด มีคุณสมบัติโดดเด่นที่แตกต่างกัน วิธีเก็บผักให้ได้นาน ควรเลือกภาชนะที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ การรักษาความชื้น และสามารถระบายอากาศได้ด
พิจารณาประเภทของภาชนะที่ต้องการนำมาบรรจุผัก
ภาชนะประเภทถุงพลาสติก - ภาชนะประเภทนี้มีราคาถูก หาซื้อได้ทั่วไป เหมาะสำหรับใช้เก็บผักใบเขียว และผลไม้ วิธีการเก็บผักสดให้นาน คือ การเลือกถุงพลาสติกที่มีรูระบายอากา
ภาชนะประเภทกล่องพลาสติก - ภาชนะประเภทนี้มีความทนทาน ง่ายต่อการล้างทำความสะอาด วิธีถนอมผักให้อยู่นาน คือ การเลือกกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิ
ภาชนะประเภทถุงตาข่าย - ภาชนะประเภทนี้ เป็นภาชนะที่สามารถระบายอากาศได้ดีที่สุด แต่ก็ยังสามารถจัดระเบียบผักที่เก็บได้ เช่น หัวหอม หรือกระเทียม เป็นต้
ภาชนะประเภทกล่องแก้ว - ภาชนะประเภทนี้ มีความปลอดภัย ทนทาน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย แต่เนื่องจากมีข้อเสียที่ง่ายต่อการแตกหัก วิธีเก็บผักให้ได้นาน คือ การเลือกกล่องแก้วอย่างระมัดระวัง ควรเลือกกล่องแก้วที่มีความทนทานต่อการกระแทกให้ได้มากที่สุด
ผักประเภทผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม ผักโขม คะน้า ผักชี และโหระพา ควรเก็บในถุงพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลา 3-5 วัน
ผักประเภทผักหัว เช่น หอมแดง กระเทียม หัวหอม มันฝรั่ง และแครอท ควรเก็นในภาชนะที่เป็นตะกร้าหรือถุงตาข่าย สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลา 1-2 เดือน
ผักประเภทอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศหรือผลไม้ สามารถเก็บไว้ในกล่องลังหรือวางในถาดที่อุณหภูมิห้อง เมื่อสุกแล้วจึงนำไปเก็บในตู้เย็น ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความเร็วในการสุก โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ 3 วัน ถึง 1 สัปดาห์
วิธีการเก็บผักแต่ละชนิดในตู้เย็น ให้สามารถอยู่ได้นาน
การวางแผนในการจ่ายตลาด เป็นสิ่งสำคัญที่เหล่าพ่อบ้าน แม่บ้าน คนทำครัว และร้านอาหาร จำเป็นต้องทำก่อนการออกไปจับจ่ายใช้สอยยังร้านขายส่งผัก เพื่อเป็นการคำนวณปริมาณของสดที่ต้องซื้อ คำนวณจำนวนเงินที่ต้องใช้ และเพื่อความรวดเร็วในการซื้อ การศึกษาเกี่ยวกับวิธีเก็บผักให้ได้นาน วิธีถนอมผักให้อยู่นาน เพื่อการเก็บผักสดให้นาน จะช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณการซื้อ รวมถึงความถี่ในการจ่ายตลาดได้สะดวกมากขึ้น โดยระยะเวลาที่ผักแต่ละชนิดสามารถอยู่ในตู้เย็นได้ มีดังนี้
นอกจากเคล็ดลับในการศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาในการเก็บผลไม้ในตู้เย็นแล้ว อีกวิธีการเก็บผักให้ได้นาน คือ การเลือกซื้อผักผลไม้ที่มีความสุกหลากหลาย เพื่อนำมาแบ่งประกอบอาหารได้พอดี โดยสามารถเลือกซื้อผักสดจากร้านขายส่งผักที่ได้มาตรฐาน “ตลาดสี่มุมเมืองออนไลน์” มีผักให้เลือกหลากหลายชนิด ผ่านการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพ ส่งตรงจากเกษตรกร ที่สำคัญ คือ มีการขายผักผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้การซื้อ-ขาย เป็นไปอย่างสะดวกสบายมากขึ้น หากสนใจสามารถรับชมรายการสินค้าได้ที่เว็บไซต์ ตลาดสี่มุมเมือง หรือ simummuangmarket